ยุทธศาสตร์/วิสัยทัศน์/พันธกิจ

ยุทธศาสตร์สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล
 

hr

 

วิสัยทัศน์

  • “เป็นผู้นำด้านสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนสตูลสู่ความผาสุก ”

พันธกิจ

    1. พัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพเต็มศักยภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
       2. พัฒนากลไกเครือข่ายให้เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ ประชาชน เข้าถึงสวัสดิการได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
       3. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมรับผิดชอบและเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคม
       4. พัฒนาบุคลากร องค์ความรู้ ขีดความสามารถ และระบบการบริหารจัดการด้านการพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคม

วัตถุประสงค์

        1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดี

        2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสวัสดิการอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

        3. เพื่อให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง

        4. เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง

        5. เพื่อให้อาสาสมัคร และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

        6. เพื่อให้เกิดประชารัฐด้านการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

        7. เพื่อให้หน่วยงานผ่านเกณฑ์มาตรฐาน การปฏิบัติหน้าที่ พมจ. PMQA ,การจัดสวัสดิการสังคมการควบคุมภายใน

เป้าประสงค์

         1.กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเข้าถึงและเข้าถึงสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

         2.สตูลเมืองแห่งความสุข

         3.ภาคีเครือข่ายมีศักยภาพและเข้มแข็งเกิดประชารัฐ ด้านการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

         4.เป็นองค์กรที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

         5. เป็นศูนย์ข้อมูลทางสังคมของจังหวัด

ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม

         1. พัฒนาระบบการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคม

        2. เสริมสร้างประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม การช่วยเหลือและคุ้มกันทางสังคม การช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิกลุ่มเป้าหมาย

        3.เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไก ภาคีเครือข่ายอาสาสมัคร และภาคประชาสังคม

        4.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานองค์กร

ค่านิยม

          ” อุทิศตน รู้หน้าที่ มีคุณธรรม นำบริการ ประสานความร่วมมือ ถือประโยชน์กลุ่มเป้าหมาย “

 

ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)

hr

วิสัยทัศน์

  • สร้างสังคมดี คนมีคุณภาพ

พันธกิจ

  1. พัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพเต็มศักยภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
  2. สร้างเสริมเครือข่ายจากทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม
  3. พัฒนาองค์ความรู้ ขีดความสามารถ และระบบการบริหารจัดการด้านการพัฒนาสังคม
  4. จัดระบบสวัสดิการที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันและมีความมั่นคงในชีวิต

ค่านิยมองค์การ

  • อุทิศตน อาสางาน เอื้ออาทร อำนวยประโยชน์สุข

ประเด็นยุทธศาสตร์

  1. พัฒนาศักยภาพคน ครอบครัว ชุมชนให้มีความเข้มแข็งและสร้างระบบที่เอื้อต่อการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
  2. สร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
  3. ส่งเสริมภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบสู่การเป็นหุ้นส่วนทางสังคม
  4. ยกระดับองค์กรสู่การเป็นผู้นำทางสังคม

 

ยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2560 – 2564

hr

วิสัยทัศน์

  • ขับเคลื่อนและบูรณาการนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสังคมเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นธรรม

พันธกิจ

  1. เสนอนโยบาย และยุทธศาสตร์ มาตรการ ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่สามารถสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก
  2. บูรณาการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  3. พัฒนาองค์ความรู้ วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดนวัตกรรมทางสังคม
  4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริการทางสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมอย่างฉับพลัน

ค่านิยมองค์การ

  • อุทิศตน อาสางาน เอื้ออาทร อำนวยประโยชน์สุข

 

ประเด็นยุทธศาสตร์

  1. พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  2. ผนึกกำลังทางสังคมจากทุกภาคส่วน
  3. เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาระบบการให้บริการทางสังคม
  4. พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างธรรมาภิบาล

แผนปฏิบัติราชการระยะ 3  ปี (พ.ศ.2563-2565) ของ สป.พม.

hr

 

วิสัยทัศน์ 

  • ขับเคลื่อนและบูรณาการนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสังคมเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นธรรม
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1
  • พัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 2
  • ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่แบบบูรณาการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 3
  • บริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial